มาตรฐานรับรองการรักษาระดับสากล JCI โปรแกรมการตรวจรักษามะเร็งเต้านม

Share

 

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับโรค

มะเร็งเต้านมเกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติ ของเซลเนื้อเยื่อเต้านม โดยร่างกายไม่สามารถควบคุมการเจริญเติมโตที่ผิดปกติได้ ทำให้เซลที่ผิดปกติเหล่านั้นโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว และอาจสามารถกระจายออกไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ เนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 1 ของโรงพยาบาลวัฒโนสถ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ (ข้อมูลจากคณะกรรมการทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลวัฒโนสถ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ) และพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิงในประเทศไทย ซึ่งพบว่ามีอัตราเพิ่มมากขึ้นทุกปี
การวางแผนการรักษาโรคมะเร็งเต้านมนั้น แพทย์จำเป็นต้องรู้ระยะของโรค โดยพิจารณาจากขนาดของก้อนมะเร็ง การแพร่กระจาย และผลการตรวจทางพยาธิวิทยา แพทย์จะสามารถทราบระยะของโรคได้ถูกต้องก็ต่อเมื่อผ่าตัดเอาก้อนและหรือต่อม น้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก ร่วมกับการตรวจทางรังสีวินิจฉัยอื่นเพิ่มเติมได้แก่ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด ท้อง การสแกนกระดูก เป็นต้น
โปรแกรม “แนวทางการรักษามะเร็งเต้านม” โรงพยาบาลวัฒโนสถ (Breast cancer pathway) ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลตลอดโปรแกรมโดยทีมแพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขา เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ อายุรแพทย์ด้านมะเร็งวิทยา ทีมพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เภสัชกร นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัดและทีมดูแลแบบประคับประคอง โดยให้ความรู้ในการดูแลตนเอง กระบวนขั้นตอนการดูแลรักษา และติดตามการรักษาตามโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ ป่วยและช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

พันธกิจของโปรแกรม

เรามุ่งมั่นให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ด้วยบริการทางการแพทย์อย่างครบวงจร ตามมาตรฐานสากล โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ

เป้าหมายของโปรแกรม

เราให้การดูแลรักษาตามมาตรฐานการแพทย์ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในการรักษาผู้ป่วย

วัตถุประสงค์ของโปรแกรม

  1. ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงประโยชน์ของการคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมในระยะแรก
  2. ให้การดูแลผู้ป่วยตามแนวทางของโปรแกรม “แนวทางการรักษามะเร็งเต้านม” โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  3. ดูแลทางด้านจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวด้วยความเคารพและเข้าใจ
  4. ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการรักษาโดยให้ข้อมูลในการรักษาแก่ผู้ป่วยอย่างเพียงพอ

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปี
  2. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ทุกระยะของโรค

คำนิยาม

  • Clinical Pathway for Treatment of Ductal Carcinoma in situ (DCIS): การรักษามะเร็งเต้านมสำหรับผู้ป่วยที่เป็น “ Ductal Carcinoma In Situ” (DCIS)
  • Clinical Pathway for Treatment of Early Breast Cancer (Stage I- Stage IIB): การรักษามะเร็งเต้านมสำหรับผู้ป่วยที่เป็น“Invasive Ductal Carcinoma” (INV) ใน stage I, stage IIA, และ stage IIB.
  • Clinical Pathway for Treatment of Large or Locally Advanced Breast Cancer (LLABC): การรักษามะเร็งเต้านมสำหรับผู้ป่วยที่เป็น Large breast cancer (refers to cancer = 3 cm. จากการตรวจร่างกายโดยแพทย์) และ Locally advanced breast cancer ใน Stage IIIA – Stage IIIB
  • Clinical pathway for Treatment of Recurrence or Initial for Stage IV Breast cancer: การรักษามะเร็งเต้านมในระยะโรคกำเริบหรือระยะที่ 4

เกณฑ์การเลือกผู้ป่วยเข้า Pathway

  1. แนวทางนี้จะครอบคลุมถ้าสอดคล้องกับกรณีดังต่อไปนี้ทั้งหมดทุกข้อ (Inclusion criteria)
    • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
    • ผู้ป่วยต้องการรับการรักษาตามแนวทางการรักษามะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลวัฒโนสถ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ
    • ผู้ป่วยยินดีที่จะเข้าร่วมโปรแกรม “แนวทางการรักษามะเร็งเต้านม” โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  2. แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมถ้าสอดคล้องกับกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (Exclusion criteria)
    • อายุน้อยกว่า 18 ปีในวันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
    • ผู้ป่วยต้องการรับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งอื่น
    • ผู้ป่วยไม่ยินดีที่จะเข้าร่วมโปรแกรม “แนวทางการรักษามะเร็งเต้านม” โรงพยาบาลวัฒโนสถ
  3. เกณฑ์การจำหน่ายออกจาก Pathway (Discharge criteria)
    • สำหรับแนวทางคลินิคในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เป็น “Ductal Carcinoma In Situ.” (DCIS) , Invasive Ductal Carcinoma.” (INV) และ “Large or Locally Advanced Breast Cancer (LLABC), ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาทุกขั้นตอนตามแนวทางคลินิคฯ และติดตามผลเป็นระยะเวลา 5 ปี และไม่มีการกลับเป็นซ้ำ
    • สำหรับแนวทางทางคลินิคในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เป็น “Recurrence or Initial for Stage IV Breast cancer” ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะได้รับการรักษา และติดตามผลตามแนวทางทางคลินิคฯ จนกระทั่งถึงการดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต ซึ่งผู้ป่วยจะออกจาก pathway เมื่อผู้ป่วย

คำแนะนำ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติตามแนวทางคลินิคในการรักษามะเร็งเต้านม

  1. บุคลากรทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จะต้องปฏิบัติตามดังนี้
    • ปฎิบัติตามแนวทางคลินิคสำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เป็น “Ductal Carcinoma In Situ.” (DCIS) ดังแนวทางที่กำหนด
    • ปฏิบัติตามแนวทางคลินิคสำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เป็น “Invasive Ductal Carcinoma.” (INV) ดังแนวทางที่กำหนด
    • ปฏิบัติตามแนวทางคลินิคสำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เป็น “Large or Locally Advanced Breast Cancer (LLABC) ดังแนวทางที่กำหนด
    • ปฏิบัติตามแนวทางคลินิคสำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เป็น “Recurrence or Initial for Stage IV Breast cancer” ดังแนวทางที่กำหนด
    • แบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Breast cancer pathway program
  2. แนวทางการบันทึกเอกสาร
    • แนวทางการบันทึกเอกสารสำหรับแพทย์
      • เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ต้องได้รับการบันทึกที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่ได้ระบุไว้ ในแนวทางคลินิค (clinical pathway)
      • เอกสารที่จำเป็นต้องแก้ไขทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางคลินิค (clinical pathway) จะต้องลงวันที่ และลงนามไว้เป็นหลักฐาน
      • หากมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารใดๆ ให้ขอคำแนะนำ หรือ ปรึกษาผู้อำนวยการโครงการ
    • สำหรับพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
      • เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ต้องได้รับการบันทึกที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ได้ระบุไว้ใน แนวทางคลินิค (clinical pathway)
      • ไม่ควรละเว้นการเติมลงในช่องว่างที่มีไว้ให้เติม
      • เอกสารที่จำเป็นต้องแก้ไขทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางคลินิค (clinical pathway) จะต้องลงวันที่และลงนามไว้เป็นหลักฐาน
      • หากมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารใดๆ ให้ขอคำแนะนำ หรือปรึกษาผู้อำนวยการโครงการ และ/หรือ ผู้ประสานงานโครงการ
  3. บุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ต้องลงรายชื่อและตำแหน่งหน้าที่ไว้เป็นหลักฐานในการดูแลตามแนวทางคลินิค
  4. ห้ามนำเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางคลินิค (clinical pathway) ออกจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วย
  5. ข้อมูลในการวัดผล ต้องได้รับการพัฒนา ตรวจสอบ และวิเคราะห์ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการประเมินและดูผลลัพธ์ของการดูแล
    ทีมสหสาขาวิชาชีพต้องตรวจทานแนวทางคลินิค “Clinical Pathway Policy” อย่างน้อยทุกปี หรือขึ้นอยู่กับผลการดูแล
  6. เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยา การรักษา หนังสือตำรา และ/หรือทรัพยากรอื่นๆ ที่ได้มาเพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางทางคลินิคมีความเหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐาน ปฏิบัติที่เป็นปัจจุบัน

แนวทางคลินิคเพื่อการรักษามะเร็งเต้านม (Clinical Pathway for Breast Cancer)

  1. แนวทางคลินิคการรักษามะเร็งเต้านม (Clinical Pathway for Breast Cancer) : Ductal Carcinoma In Situ. (DCIS)
  2. แนวทางคลินิคการรักษามะเร็งเต้านม (Clinical Pathway for Breast Cancer) : Invasive Ductal Carcinoma:(INV)
  3. แนวทางคลินิคการรักษามะเร็งเต้านม (Clinical Pathway for Breast Cancer) : Large or Locally Advanced Breast Cancer (LLABC)
  4. แนวทางคลินิคการรักษามะเร็งเต้านม (Clinical pathway for Breast cancer) : Recurrence or Initial for Stage IV Breast cancer

สถานที่ที่ให้บริการ (Service Counter)

กรณีมีปัญหาปรึกษา: ศูนย์เต้านมโรงพยาบาลวัฒโนสถ
เปิดให้บริการ: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 – 19.00 น. / วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น.


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เต้านมกรุงเทพ หรือพยาบาลประสานงานศูนย์เต้านม
โทร.02-310-3016 หรือ Contact Center โทร.1719 (24 ชม.)
Email: [email protected]

คุณอาจสนใจ
ดูทั้งหมด