มะเร็งรังไข่
ข้อเท็จจริง
- มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 7 ของมะเร็งในสตรีทั้งหมด รองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่มากกว่า 2,600 รายในปี 2556 ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิตในแต่ละปี
- มะเร็งรังไข่เป็นได้ทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 40 – 60 ปี
สาเหตุของโรค
มะเร็งรังไข่ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเอง ร้อยละ 10 สาเหตุเกิดจากสารพันธุกรรมที่ผิดปกติ ถ่ายทอดมาจากญาติพี่น้อง
อาการ
- คลำพบก้อน
- ท้องโตขึ้น
- อาหารไม่ย่อย
- ปวดท้องเรื้อรัง
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
การตรวจวินิจฉัย
- ตรวจร่างกาย
- ตรวจภายใน
- ตรวจอัลตราซาวนด์
- ตรวจ CT Scan
- ตรวจเลือด
***การตรวจอาจใช้หลายรูปแบบประกอบกันขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
การบำบัดรักษา
- ศัลยกรรม / การส่องกล้อง / การผ่าตัด
- การรักษามะเร็งรังไข่จะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก โดยการผ่าตัดมดลูก รังไข่ ไขมันในช่องท้อง และผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง
- รังสีบำบัด
- มะเร็งรังไข่บางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยรังสี
- ยาเคมีบำบัด
- มะเร็งรังไข่ตอบสนองดีต่อยาเคมีบำบัดและมักให้ร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด
เป้าหมาย
การบำบัดรักษามะเร็งรังไข่ระยะต้นมีโอกาสหายจากโรคได้ แต่ในระยะลุกลามสามารถรักษาแบบประคับประคองได้
การป้องกัน
- ตรวจเช็กสุขภาพ
- ตรวจภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร่วมกับการตรวจร่างกายเพิ่มเติมอื่น ๆ
จุดเด่น
แพทย์ ศัลยแพทย์ พยาบาล มีความชำนาญและมากด้วยประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง สามารถให้การตรวจรักษาได้รวดเร็ว มีมาตรฐาน และเทคโนโลยีทันสมัย