ศูนย์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูก
เกี่ยวกับเรา
ศูนย์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูก พร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบโลหิตชนิดต่าง ๆ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ระดับสูงในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดใหม่แทนที่เซลล์เดิมที่อาจผิดปกติหรือไม่แข็งแรง เพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้น โดยทุกกระบวนการรักษาผู้ป่วยและญาติจะได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจเสมือนคนใกล้ชิด พร้อมทั้งมีส่วนตัดสินใจในทุกขั้นตอน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังการรักษา
บริการทางการแพทย์
ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคเลือด หรือโรคทางโลหิตวิทยา อาทิ
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบโลหิตที่เป็นมะเร็ง (Hematologic Malignancy)
แบ่งออกเป็น- มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia)
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
- มะเร็งไขกระดูก (Marrow Cancer)
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบโลหิตที่ไม่ใช่มะเร็ง (Blood Disorder)
- โรคโลหิตจาง (Anemia)
- โรคธาลัสซีเมีย หรือโรคโลหิตจางที่มีความผิดปกติจากพันธุกรรม (Thalassemia)
- โรคไขกระดูกไม่ทำงาน (Aplastic Anemia)
- โรคอื่น ๆ ที่มีอาการทางโลหิต
- โลหิตจางจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะไตวาย
- อาการเกล็ดเลือดต่ำ
- อาการเลือดออกผิดปกติ
เครื่องมือและเทคนิคการรักษา
การรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stemcell) หรือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นวิธีการดูแลรักษาแบบตติยภูมิ (ชะลอการดำเนินโรคเมื่อผู้ป่วยแสดงอาการของโรคแล้ว) โดยเป็นเทคนิคการรักษาที่ได้การยอมรับให้เป็นมาตรฐานของวงการแพทย์ทั่วโลก
ข้อมูลก่อนเข้ารับบริการ
- สำหรับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stemcell) ผู้ป่วยจะต้องถูกประเมินความพร้อมของร่างกาย รวมถึงการเตรียมตัวและสภาพจิตใจ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม และแผนการรักษาอย่างละเอียดก่อนทำการปลูกถ่าย และต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทำการรักษา เช่น ภาวะติดเชื้อจากภูมิต้านทานต่ำภาวะร่างกายต่อต้านเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ซึ่งอาจพบในผู้ป่วยที่ได้รับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค หรือเกิดภาวะร่างกายปฏิเสธเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ผู้ป่วยบางรายอาจมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการได้รับยาเคมีบำบัดขนาดสูง เป็นต้น
- ข้อสำคัญควรรู้ของผู้ป่วย
การปลูกถ่ายไขกระดูก มีการตรวจที่พิเศษมากมายเพื่อให้ทีมแพทย์แน่ใจว่า คนไข้สามารถอดทนต่อความยืดเยื้อ และภาระหนักที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายหลังการปลูกถ่าย โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน เช่น ร่างกายไม่ยอมรับไขกระดูก หรือในกรณีที่ได้ไขกระดูกจากผู้อื่น อาจเกิดปฏิกิริยาการต้านกันของไขกระดูก