รังสีร่วมรักษามะเร็ง
คลินิกรังสีร่วมรักษา พร้อมทำการรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด ด้วยการวินิจฉัยและรักษาอย่างบูรณาการผ่านเครื่องมือทางรังสีวิทยาชนิดต่าง ๆ เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องซีที (CT) เครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI) หรืออัลตราซาวนด์ (ULTRASOUND) ช่วยนำทางแพทย์ผู้ชำนาญการให้ใส่เครื่องมือต่าง ๆ ไปในร่างกายของผู้ป่วยเพื่อทำการตรวจ เช่น สายลวดนำสายสวนเพื่อขยายหลอดเลือด หรือเข็ม แสดงให้เห็นสภาพร่างกายในจุดที่ผิดปกติและสามารถทำการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก
- ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการทำหัตถการรังสีร่วมรักษาโดยไม่ต้องเปิดแผลผ่าตัดใหญ่ เช่น การตรวจชิ้นเนื้อปอด ก้อนต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง เป็นต้น
- หัตถการใส่สายสวนหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านท้องแขน ซึ่งมีแผลเล็กและความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำกว่าหัตถการสายสวนหลอดเลือดดำใหญ่วิธีอื่น
- แพทย์ผู้ชำนาญการรักษามะเร็งตับด้วยคลื่นความร้อนกรณีไม่สามารถผ่าตัดได้
ตรวจรักษาโรคมะเร็งและโรคชนิดอื่น ๆ ด้วยรังสีร่วมรักษา (Intervention Radiology) จากเครื่องมือต่าง ๆ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านรังสีวินิจฉัย หรือรังสีวิทยาทั่วไป โดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยหลากหลายชนิดในกระบวนการ
- วินิจฉัยโรคมะเร็งด้วยการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้ภาพนำทาง (Image Guide Percutaneous Biopsy) ด้วยเทคนิคของรังสีร่วมรักษา วางตำแหน่งของเข็มผ่านทางผิวหนังเข้าไปยังตำแหน่งที่ผิดปกติ ช่วยให้แพทย์สามารถนำเนื้อเยื่อหรือเซลล์มาทำการวินิจฉัย
- การรักษาโดยสอดเข็มผ่านผิวหนังเข้าสู่หลอดเลือดของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เกิดโรค จากนั้นใช้เครื่องมือ เช่น
เครื่องอัลตราซาวนด์ หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นำทาง ช่วยเพิ่มความถูกต้องในการรักษา - การรักษาโรคมะเร็งตับผ่านผิวหนังด้วยคลื่นความร้อน (RFA หรือ MWA) ซึ่งให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด
การตรวจรักษาด้วยรังสีร่วมรักษาไม่สามารถดำเนินการได้กับผู้ป่วยที่มีอาการและระยะของโรคต่าง ๆ ดังนี้
- ผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีภาวะหัวใจล้มเหลว
- ผู้ป่วยที่เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
- ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้สารทึบรังสีอย่างรุนแรง
- ผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตบกพร่อง
- ผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติจากการแข็งตัวของเลือดหรือเกล็ดเลือดต่ำ
- ผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี และสตรีมีครรภ์
การเตรียมตัวสำหรับผู้เข้ารับการตรวจที่ไม่มีอาการป่วยข้างต้น
- ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 – 8 ชั่วโมง ก่อนทำการตรวจ
- แจ้งแพทย์ทันที หากมีโรคประจำตัวทุกชนิด และประวัติการแพ้ยาต่าง ๆ
- ควรพักฟื้นเพื่อประเมินร่างกายที่โรงพยาบาล 1 วันก่อนทำการตรวจ
- ผู้ป่วยจะต้องมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจเลือดบางชนิดที่จำเป็น
- ผู้ป่วยบางรายที่มีความวิตกกังวลมาก อาจได้รับยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทก่อนการตรวจ
- ผู้ป่วยต้องหยุดยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดก่อนทำการตรวจ