Beyond Breast Cancer Care ก้าวข้ามมะเร็งเต้านมด้วยวิธีรักษาแนวใหม่ใน World Cancer Awareness Month 2025

Share

โรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital ชวนคนไทยรู้เท่าทันโดยเฉพาะโรคมะเร็งในเดือนแห่งวันมะเร็งโลก World Cancer Awareness Month 2025 แนะวิธีก้าวข้ามและวิธีรักษาแนวใหม่ด้วยนวัตกรรม

.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital เปิดเผยว่า สถิติโรคมะเร็งของคนไทยทั้งประเทศ โดยข้อมูลจาก WHO .. 2565 แสดงให้เห็นตัวเลขผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ของไทยอยู่ที่ 183,541 คน หรือ คนไทยหรือคนไทยมีโอกาสเป็นมะเร็ง 1 ใน 6 และเสียชีวิต 118,829 คน หรือมีโอกาสเสียชีวิต 1 ใน 10 หรือ 14 คนต่อชั่วโมง พบว่ามะเร็งเต้านมเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของหญิงไทยทั่วโลก และประเทศไทย จำนวน 37 คนต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเกิดของมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย และในโอกาสเดือนแห่งวันมะเร็งโลก: World Cancer Awareness Month 2025 โรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital จึงจัดกิจกรรมให้ความรู้ Beyond Breast Cancer Care ก้าวข้ามมะเร็งเต้านมด้วยวิธีรักษาแนวใหม่ของโรคมะเร็งเต้านม พร้อมเผยแพร่นวัตกรรมการเสริมสร้างเต้านมด้วยเนื้อเยื่อบริเวณหน้าท้องหรือกล้ามเนื้อหลัง

ปัจจุบันการคัดกรองมะเร็งเต้านมสามารถทำได้จากการตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์เพื่อให้เกิดการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่ม เพื่อผลการรักษาที่ดี โดยการรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีหลายวิธีเป็นการรักษาแบบผสมผสาน ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ฮอร์โมนบำบัด การรักษาด้วยยามุ่งเป้า

นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ ผู้อำนวยการศูนย์เต้านม กล่าวว่า จากสถานการณ์มะเร็งเต้านมที่เกิดขึ้นในผู้หญิงไทยพบว่า มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเฉพาะเซลล์ท่อน้ำนม เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวผิดปกติและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หากปล่อยไว้อาจแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายได้ 

ผศ.พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ ศัลยแพทย์มะเร็งเต้านม ศีรษะ และลำคอ กล่าวว่า การรักษามะเร็งเต้านมไม่ว่าจะด้วยวิธีการผ่าตัดหรือรังสีรักษาอาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ หนึ่งในนั้นคือภาวะแขนบวมหลังการรักษา ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่และเกิดขึ้นตอนไหน โดยจะเกิดขึ้นบริเวณแขนข้างเดียวกับที่เป็นมะเร็งเต้านม หากบวมน้อยแขนสามารถใช้งานได้ปกติ แต่หากบวมมากแขนอาจใช้งานไม่ได้ ถ้ารีบรักษาทันทีจะช่วยให้อาการดีขึ้น ดังนั้นการรู้เท่าทันจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ตื่นตระหนกและรับมือได้อย่างถูกวิธี

ด้าน นพ.ศุภฤกษ์ โลหะสัมมากุล ศัลยแพทย์ตกแต่งมะเร็งเต้านม กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ป่วยที่รักษามะเร็งเต้านมในประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตดีขึ้น เนื่องจากมีนวัตกรรมเสริมเต้านมโดยใช้ซิลิโคนเต้านมเทียมและเสริมเต้าใหม่ด้วยเนื้อเยื่อ โดยนวัตกรรมดังกล่าวเหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น  ซึ่งการเสริมเต้านมโดยใช้ซิลิโคนเต้านมเทียมเป็นการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมโดยใช้ซิลิโคนเต้านมเทียม ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมโดยใช้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเอง และการเสริมเต้าใหม่ด้วยเนื้อเยื่อเป็นการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมด้วยเนื้อเยื่อบริเวณหน้าท้อง โดยแพทย์จะนำเนื้อเยื่อบริเวณหน้าท้องมาเสริมแทนเต้านมที่ถูกตัดออกไป ใช้ได้กับเต้านมทุกขนาด นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมด้วยกล้ามเนื้อที่หลังเหมาะกับผู้ป่วยที่เต้านมเล็ก หย่อนคล้อยไม่มาก ซึ่งทั้งสองเทคนิคทำให้เต้านมใหม่คล้ายเต้านมจริงมากที่สุด รูปทรงของเนื้อเยื่อและสัมผัสเป็นธรรมชาติ อีกทั้งเต้านมใหม่คงทนกว่าซิลิโคนเต้านมเทียม เพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิต ไม่มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง  

ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital พร้อมเปิดให้บริการฟื้นฟูภาวะบวมน้ำเหลือง Lymphedema Service หลังการรักษามะเร็งเต้านม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมโดยไม่คาดคิด การรู้เท่าทันจะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ตื่นตระหนกและรับมือได้อย่างถูกวิธี

World Cancer Awareness Month 2025

World Cancer Awareness Month 2025

World Cancer Awareness Month 2025

World Cancer Awareness Month 2025

World Cancer Awareness Month 2025

World Cancer Awareness Month 2025

คุณอาจสนใจ
ดูทั้งหมด